วันอังคารที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2555

บันทึกประจำวัน

16/9/2012
วันนี้ได้หยุดสักที แต่การบ้านที่ต้องส่งก็ยังมีอยู่เราเลยไม่ได้พักอีกแล้ว พอเราทำการบ้านได้นิดนึง เราก็หลับไปตอนไหนไม่รู้ พอตื่นอีกที่ก็บ่ายแล้วเราจึงรีบทำการบ้านจนเสร็จและรอดู"หมวดโอภาส" เพราะอาทิตย์ที่แล้วเรียนชดเชย เลยอดดู อาทิตย์นี้จึงพลาดไมได้

บันทึกประจำวัน

15/9/2012
วันนี้วันเสาร์เป็นวันหยุดแต่เราต้องมาเรียนชดเชยที่โรงเรียน(เรียนวิชาวันศุกร์) ผลจาการเล่นตัวเมื่อวานทำให้ตอนนี้เรายังไม่มีคู่สนทานา แต่โชคก็เข้าข้างเรา^^ เพราะมีเพื่อนไม่มาจึงมีคนเศษเราเลยมีคู่และหลายๆวิชาเราก็เคีร์ยงานเกือบเสร็จแล้วด้วย เย้ๆๆๆ

บันทึกประจำวัน

14/9/2012
วันนี้2คาบแรกเรียนภาษาจีน ครูบอกให้จับคู่กับเพื่อนสนทนา ตอนแรกเพื่อนชวนเราคู่ แต่เพราะเราเล่นตัวมากไปหน่อย เพื่อนเลยไปคู่กับอีกคน==! วันนี้เราเลยเซ็งนิดหน่อย แต่ชั่วโมงหน้าเราจะคู่กับใครล่ะ!!!!

บันทึกประจำวัน

13/9/2012
วันนี้เราคิดว่าจะตื่นเช้าๆไปโรงเรียน แต่ก็ยังตื่นสายอยู่ดี! พอมาถึงโรงเรียนเราจึงรีบขึ้นห้องเรียนเพื่อที่จะเอางานไปปริ้นท์ แต่กว่าจะปริ้นท์ได้ มีอุปสรรคเยอะมาก ทั้งลืมกระเป๋าตังค์ ลืมหน้าปกที่จะปริ้นท์แต่สุดท้ายก็ปริ้นท์ได้ และส่งงานได้ทัน วันนี้เราเลยรู้สึกดีเป็นพิเศษ

บันทึกประจำวัน

12/9/2012
วันนี้ตื่นไม่ทันรถมาโรงเรียน เพราะเมื่อคืนทำการบ้านจนดึกและยังลืมรัดผ้า พอถึงตอนเช้ารถมารอหน้าบ้านนานมาก เราไม่อยากให้คนอื่นไปโรงเรียนสายเราเลยตัดสินใจหยุด1วัน แล้วก็นั่งทำการบ้านและงานที่ค้างต่างๆ วันนี้เลยไม่ได้ออกไปไหนเลย
     

วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

สบู่เหลว

เดี๋ยวนี้สบู่เหลวได้รับความนิยมยิ่งขึ้น ด้วยเหตุผลของความสะดวกสบายเป็นสำคัญ 
แต่คุณรู้ไหมว่า สบู่เหลวที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่ใช่สบู่แต่เป็นสารเคมีล้วนๆ! สบู่เหลวที่ดีจริงๆจะต้องมี
ส่วนผสมของเนื้อสบู่อย่างน้อย 25 % แล้วที่เหลือเป็นน้ำ แต่ความเป็นจริงแล้วไม่มีสบู่เหลวแบบนี้
วางขายอยู่เลย เพราะผลิตภัณฑ์เกือบทุกชนิดที่วางขายอยู่นั้น เป็นแค่ใช้สารซักฟอกหรือดีเทอเจน
 ผสมกับสารเคมีสังเคราะห์อื่นๆ แล้วทำให้อยู่ในรูปของเหลว ซึ่งสารซักฟอกหรือดีเทอเจนก็คือสารเคมีหลัก 

ที่ใช้ในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำยาทำความสะอาดพื้น หรือแม้แต่น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำนั่นเอง 
จะผิดกันก็แต่ว่าความเข้มข้นของสารซักฟอกที่ใช้ทำสบู่เหลวมีความเจือจางกว่าเท่านั้น 

ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้สบู่เหลว คงไม่เกิดขึ้นในฉับพลันทันที แต่จะสะสมเป็นปัญหาในระยะยาวได้ 
เพราะสารเคมีเหล่านี้จะแทรกซึมลงไปในผิวหนัง อวัยวะภายใน และกระแสเลือดได้ทุกครั้งที่เราอาบน้ำ SLS หรือ
 โซเดียมลอริลซัลเฟต เป็นตัวอย่างหนึ่งของสารเคมีหลักที่มักใช้ในสบู่(ลองไปพลิกพวกผลิตภัณฑ์ซักล้าง
ทุกอย่างดูนะคะ จะเห็นส่วนผสมนี้จริงๆ บางทีใช้ชื่อว่าลอริล) และเป็นสารเคมีอันตราย 

หลายประเทศในยุโรปและอเมริกามีกฏหมายห้ามใช้แล้ว และบางประเทศก็จำกัดให้มีการใช้น้อยลง 
แต่ในบ้านเรากลับใช้กันอย่างแพร่หลาย ทั้งๆที่ SLS เป็นสารเคมีที่ดูดซึมผ่านผิวหนังได้ง่ายและรวดเร็ว 
สามารถสะสมอยู่ในดวงตา สมอง หัวใจ ตับ และก่อปัญหาในระยะยาว หากยิ่งมีการใช้ร่วมกับสารประกอบ
ตระกูลอามีน ก็จะกลายเป็นสารก่อมะเร็งในที่สุด 



เครดิต
http://www.innovaclub.net/SMF-Board/index.php?topic=13040.0

ยุกต์แรกของสบู่และผงซักฟอกในประเทศไทย

หากจะพูดถึงเรื่องราวของการซักผ้าของชาวสยามก่อนที่จะมีผงซักฟอกใช้แล้ว
หากเปรียบเทียบระหว่างสมัยก่อนกับสมัยนี้แล้ว
การซักผ้าในสมัยก่อนนั้นลำบากกว่าสมัยนี้อย่างเทียบกันไม่ได้เลยทีเดียว
หญิงชาวสยามสมัยก่อนจะมีอุปกรณ์การซักผ้าอย่างหนึ่งที่เราไม่เห็นกันแล้วสมัยนี้
นั่นก็คือไม้ทุบผ้า.. ที่เอาไว้ทุบคราบเหงื่อไคลบนเสื้อผ้าออก
ซึ่งการทุบให้คราบออกได้นั้น ก็จะต้องใช้แรงเยอะเลยค่ะ
กว่าจะซักเสร็จเนี่ย.. เรียกว่ากล้ามขึ้นกันเลย
แต่หากเป็นคราบสกปรกที่ติดแน่นหน่อย หญิงสยามจะใช้น้ำด่างจากขี้เถ้าไม้แสม
(หรือก็คือน้ำที่ได้จากการนำขี้เถ้าไม้แสมมาต้ม แล้วทิ้งค้างคืนไว้ให้ขี้เถ้าตกตะกอน)
มาใช้เป็นน้ำแช่ผ้าเพื่อสลายคราบสกปรกก่อนนำไปทุบหรือขยี้
หลังจากทุบหรือขยี้เสร็จแล้วก็อาจจะมีการนำไปต้มในลังถึง(ซึ้ง) เพื่อขจัดคราบเหงื่อไคลก่อน แล้วจึงนำมาล้างตากได้คนไทยใช้วิธีเหล่านี้ในการซักผ้ามานมนาน จนกระทั่งเมื่อประมาณ พ.ศ. 2470
ได้มีการนำสบู่เข้ามาใช้ในสยามเป็นครั้งแรก ตอนนั้นเป็นที่ฮือฮาเลยทีเดียวค่ะ
เพราะพอสบู่เข้ามาในสยามตอนนั้น
ก็ได้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของคนไทยไปหลายๆอย่าง
ซึ่งง่ายขึ้นกว่าเดิมมาก
จากการใช้ไม้ทุบผ้าซักผ้า.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่ซักผ้าแทน
จากการใช้มะขามเปียกอาบน้ำ.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่อาบน้ำแทน
จากการใช้มะนาวล้างจาน.. ชาวสยามก็เริ่มใช้สบู่ล้างจานแทน
สบู่สมัยนั้นเรียกว่าเป็นสบู่เอนกประสงค์เลยทีเดียวค่ะ
ก้อนเดียวใช้ชำระล้างคราบสกปรกได้ทุกอย่าง
แล้วสบู่สมัยนั้น ก้อนเท่าบ้านเลยนะเออ
อย่างสบู่ซันไลต์ ก้อนเบ้อเร่อแบบนี้

และหลังจากที่ชาวสยามใช้สบู่เอนกประสงค์กันได้ไม่นาน
ก็มีสุดยอดการคิดค้นสิ่งมหัศจรรย์ (สำหรับชาวสยามเวลานั้น)
นั่นก็คือผงซักฟอก ซึ่งมีการผลิตใช้ในสยามเมื่อปี พ.ศ. 2475
โดยยี่ห้อแรกที่มีขายคือ "พรรณอร" (ซื้อได้ที่รถขายยาเท่านั้น)
ซึ่งเป็นผงซักฟองที่ต้องละลายในน้ำเดือด ก่อนนำผ้าแช่ลงไปในนั้นแล้วบิดตาก
แต่ด้วยความที่มีกลิ่นสารเคมีค่อนข้างฉุน จึงไม่เป็นที่นิยมมากนัก
แต่หลังจากนั้นไม่นาน ชาวสยามก็ได้รู้จักกับผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่
ที่มีกลิ่นหอม และมีวิธีการซักที่ง่าย เพียงละลายกับน้ำแล้วนำผ้าลงขยี้
และแน่นอน.. ผงมหัศจรรย์ชนิดใหม่ที่ว่ามันจะเป็นอะไรไปไม่ได้ นอกจาก..

(แฟ้บ เป็นผงซักฟอกที่เป็นที่นิยมยี่ห้อแรก สมัยนั้นขายดีเป็นเทน้ำเทท่า
และถูกนำชื่อยี่ห้อมาใช้เรียกแทนผงซักฟอกทุกยี่ห้อไปช่วงหนึ่งเลยทีเดียว)

สบู่



   
สบู่ เป็นสิ่งที่ใช้ในการทำความสะอาดร่างกาย เช่น การอาบน้ำ การล้างมือ สบู่จะช่วยละลายไขมัน ทำให้การชำระล้างสะอาดมากขึ้น
สบู่ก้อน คือส่วนผสมระหว่างกรด (ไขมัน) กับเบส (ด่าง) ในอัตราส่วนที่ทำให้สามารถทำความสะอาดได้ดี และไม่เป็นอันตรายต่อผิว คือมีค่า pH อยู่ระหว่าง 8-10 (ในเอกสารจดแจ้งของ อย.ให้ผู้ผลิตสบู่ก้อนระบุว่ามีค่า ph ไม่เกิน 11) กรดหรือกรดไขมัน เช่นน้ำมันพืช ไขมันสัตว์ เบส เช่นโซดาไฟ โดยทั่วไปอัตราส่วนผสมที่เหมาะสมคือเมื่อผสมกันแล้วควรจะเหลือกรดไขมันอยู่ประมาณ 5% หากไม่มีเครื่องมือในการวัดค่า pH ให้เก็บสบู่เอาไว้อย่างน้อย 15-30 วัน เพื่อให้ค่า pH ลดลง อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
กรด (ไขมัน) และเบส (ด่าง) ที่นำมาทำสบู่ ไขมันแต่ละชนิดประกอบด้วยกรดไขมันมากกว่า 1 ชนิด ตามธรรมชาติกรดไขมันเหล่านี้จะไม่อยู่อิสระ แต่รวมตัวกับสารกลีเซอรอลในไขมันอยู่ในรูปกลีเซอไรด์ เมื่อด่างทำปฏิกิริยากับกรดไขมัน กรดไขมันจะหลุดออกจากกลีเซอไรด์ รวมตัวเป็นสบู่ สารที่เกาะอยู่กับกรดไขมันก็จะหลุดออกมาเป็นกลีเซอรีน ปฏิกิริยาของ กรดไขมันแต่ละชนิดเมื่อรวมตัวกับด่างแล้ว จะให้สบู่ที่มีคุณสมบัติแตกต่างกัน เช่น กรดลอริก(lauric acid) มีมากในน้ำมันมะพร้าว เป็นกรดไขมันที่ทำปฏิกิริยากับด่างแล้วให้สารที่มีฟองมาก เป็นต้น
คุณสมบัติของสบู่ที่ได้จากกรดไขมันต่างชนิดกัน
  1. น้ำมันมะพร้าว สบู่ที่ผลิตได้มีเนื้อแข็ง กรอบ แตกง่าย สีขาวข้น มีฟองมากเป็นครีม ให้ฟองที่คงทนพอควร เมื่อใช้แล้วทำให้ผิวแห้ง
  2. น้ำมันปาล์ม ให้สบู่ที่แข็งเล็กน้อย มีฟองน้อย ฟองคงทนอยู่นาน มีคุณสมบัติในการชะล้างได้ดี แต่ทำให้ผิวแห้ง
  3. น้ำมันรำข้าว ให้วิตามินอีมาก ทำให้สบู่มีความชุ่มชื้น บำรุงผิว ช่วยลดความแห้งของผิว
  4. น้ำมันถั่วเหลือง เป็นน้ำมันที่เข้าได้ดีกับน้ำมันอื่น ให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่เก็บไว้ได้ไม่นาน มีกลิ่นหืนง่าย
  5. น้ำมันงา เป็นน้ำมันที่ให้วิตามินอี และให้ความชุ่มชื้น รักษาผิว แต่มีกลิ่นเฉพาะตัว
  6. น้ำมันมะกอก ทำให้ได้สบู่ที่แข็งพอสมควร ใช้ได้นาน มีฟองเป็นครีมนุ่มนวลมาก ให้ความชุ่มชื้น ไม่ทำให้ผิวแห้ง
  7. น้ำมันละหุ่ง ช่วยทำให้สบู่มีฟองขนาดเล็กจำนวนมาก ทำให้สบู่เป็นเนื้อเดียวกันดี สบู่ไม่แตก ทำให้สบู่มีความนุ่มเนียน และช่วยให้ผิวนุ่ม
  8. น้ำมันเมล็ดทานตะวัน ทำให้สบู่นุ่มขึ้น แต่ฟองน้อย
  9. ไขมันวัว จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็งสีขาวอายุการใช้งานนานมีฟองน้อย ทนนาน แต่นุ่มนวล
  10. ไขมันหมู จะได้สบู่ที่มีเนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
  11. ขี้ผึ้ง ได้สบู่เนื้อแข็ง อายุการใช้งานนาน ฟองน้อย แต่ทนนาน
  12. ไขมันแพะ ได้สบู่เนื้อนุ่ม ได้ความชุ่มชื้นแก่ผิว ผิวนุ่มเนียน
เบส (ด่าง) ที่ใช้มี 3 ชนิด คือ
  1. ขี้เถ้า ใช้ในการผลิตสบู่ในสมัยโบราณ ปัจจุบันมีการพัฒนาใช้เป็นด่างแทน
  2. โซดาไฟ หรือโซเดียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่ก้อนแข้ง
  3. โพแทสเซียมไฮดรอกไซด์ ทำปฏิกิริยาได้สบู่เหลว

ประโชน์ของสบู่ดำ

 สบู่ดำเป็นพืชน้ำมันชนิดหนึ่ง ที่มีประโยชน์ทั้งยาง ลำต้น และเมล็ด วันนี้เกร็ดความรู้มีเรื่องนี้มาบอกกัน.... 

        1. ยางจากก้านใบ ใช้ป้ายรักษาโรคปากนกกระจอก ห้ามเลือด แก้ปวดฟัน แก้ลิ้นเป็นฝ้าขาว โดยผสมกับน้ำนมมารดาป้ายลิ้น 

        2. ลำต้น ตัดเป็นท่อนต้มน้ำให้เด็กกินแก้ซางตาลขโมย ตัดเป็นท่อนแช่น้ำอาบแก้โรคพุพอง ใช้เป็นแนวรั้วป้องกันสัตว์เลี้ยง เช่น โค กระบือ ม้า แพะ เข้าทำลายผลผลิต 

       3. เมล็ด สามารถนำมาสกัดใช้ทดแทนน้ำมันดีเซล ใช้บำรุงรากผม ใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์ โดยใช้กากที่เหลือจะมีธาตุอาหารหลัก มากกว่าปุ๋ยหมักและมูลสัตว์หลายชนิด และเมื่อกินเข้าไปแล้วจะทำให้ท้องเดิน 





เครดิต

สบู่ดำ


สบู่ดำ ( Jatropha curas Linn.) พืชน้ำมันที่กำลังเป็นที่สมใจของผู้คนทั้งในและต่างประเทศในขณะนี้นั้น นักพฤกษศาสตร์จัดกลุ่มไว้เป็นไม้พุ่มขนาดเล็ก ถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปอเมริกาเขตร้อน เป็นพืชในวงศ์ Euphorbiaceae วงศ์เดียวกับยางพารา ละหุ่ง และมันสำปะหลัง มีน้ำยางสีขาวใสลื่น ๆ เป็นฟอง มีคุณสมบัติคล้ายสบู่อยู่ในทุกส่วนของลำต้น
ประวัติและความสำคัญ
“ สบู่ ” เป็นภาษาโปรตุเกส หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่งที่ใช้น้ำมันจากเมล็ดมาเป็นส่วนผสมในการทำสบู่ สำหรับชำระล้างร่างกาย และซักล้างเสื้อผ้า ของใช้ มีบันทึกไว้ว่าค้นพบโดย พ่อค้าชาวโปรตุเกสที่เดินเรือไปทวีปอเมริกากลาง และนำเข้ามาในทวีปเอเชีย และแพร่มายังประเทศไทยสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ราว ๆ 300 ปีก่อน โดยมีการแนะนำให้ผู้คนสมัยนั้นปลูกและพ่อค้ารับซื้อเมล็ดไปทำสบู่
ในทวีปแอฟริกา สมัยก่อนปลูกกันมากที่แหลม Verde ในที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์และเป็นแนวเขตรั้วบ้าน คอกสัตว์ หรือบริเวณหลุมฝังศพ เพื่อกันสัตว์ไม่ให้เข้าไปคุ้ยเขี่ย สำหรับในประเทศไทยมีรายงานว่า เคยมีการปลูกเป็นรั้วบ้าน ในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยผู้เฒ่า
ผู้แก่ใช้ยางใส ๆ ที่หักออกจากก้านใบ หรือส่วนยอดใช้ทาแผลสด โดยเฉพาะแผลที่ปากให้เด็ก ๆ ที่เป็นโรคปากนกกระจอก หรือใช้กวาดลิ้นเด็กที่เป็นฝ้าขาว และใช้เนื้อในเมล็ดสีขาวเลียบไม้ จุดแทนเทียนไข ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เนื่องจากขาดแคลนน้ำมันก๊าดที่ใช้จุดตะเกียง
สบู่ดำ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น เช่น ภาคเหนือ เรียก มะหุ่งฮั้ว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียก หมากเย่า , มะเยา หรือสีหลอด ภาคใต้เรียก หงส์เทศ (เพราะต้นโต) และภาคกลางเรียก สบู่ดำ ชาวเขาเรียก ไท้ยู หรือเกงยู (เพราะน้ำมันมีสีดำ) พม่าเรียก แจ้ทซู เขมรเรียก ทะวอง จีนกลางเรียก หมาฟ่งสู้ แต้จิ๋วเรียก มั่วฮองซิว ญี่ปุ่นเรียก บูราคีรี และภาษาอังกฤษเรียก physic nut หรือ purging nut ( Jatropha spp.) พืชสกุลนี้จัดเป็นไม้สกุลใหญ่ กระจายอยู่ในเขตร้อนและกึ่งร้อน จเร สดากร (2527) รายงานว่า พบสบู่ดำ 175 ชนิด (Airy Show, 1978) ในอินโดจีน พบ 4 ชนิด (Lecomit, 1931) 3 ชนิด พบในพม่า (Kura, 1974) และมาเลเซีย (Burkill, 1966) ในประเทศไทยเองพบ 5 ชนิด คือ J. gossypifolia (สบู่แดง) , J. podagrica (หนุมานนั่งแท่น) J. integgerima (ปัตตาเวีย) , J. multifida (มะละกอฝรั่ง , ฝิ่นต้น) และ J. curcas (สบู่ดำ)  

กำเนิดสบู่

สบู่ก้อนแรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๖ ศตวรรษก่อนคริสตกาล
หรือประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว 
กล่าวกันว่าพวกฟีนีเชียนได้ต้มน้ำกับไขมันแพะและขี้เถ้าเข้าด้วยกัน 
แม้ฟังดูจะไม่ค่อยสะอาดนัก แต่สารโพแทสเซียมคาร์บอเนต
ในขี้เถ้านั้นช่วยให้สบู่ดึกดำบรรพ์ซึ่งมีผิวมันปลาบก้อนนี้มีคุณสมบัติใช้ทำความสะอาดได้
อย่างไรก็ตาม การผลิตและการใช้สบู่ก็ยังดำเนินไปอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ 
จนในสมัยหลังมีข้อยืนยันทางการแพทย์ว่า แบคทีเรียเป็นตัวการของโรคภัย 
เมื่อนั้นฝรั่งจึงยอมหันมาอาบน้ำและถูสบู่กันถ้วนหน้า 
แต่ตัวสบู่เองก็ไม่ได้มีการพัฒนาไปจากก้อนแรกเท่าไรเลย
Harley Procter (1846-1923)James Gamble
ในปี ค.ศ. ๑๘๗๙ นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ เจ้าของโรงงานสบู่ 
และนายเจมส์ แกมเบิล ญาติซึ่งเป็นนักเคมี 
พบว่าสบู่กุรุสที่ถูกทิ้งให้ตีผสมอยู่ในเครื่องนานเกินไป
เพราะคนงานลืมปิดเครื่องมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง 
คือมีน้ำหนักเบาจนสามารถลอยน้ำได้เพราะฟองอากาศในเนื้อสบู่ 
ปรากฏว่าสบู่ลอยน้ำได้ของนายพร็อกเตอร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยทีเดียว
นายพร็อกเตอร์ตั้งชื่อสบู่แหวกแนวของตนว่า ไอวอรี 
สบู่ยี่ห้อนี้มีรอยปรุตรงกลางก้อน หักแบ่งครึ่งได้ 
นายพร็อกเตอร์ตั้งสโลแกนสบู่ของตนว่า 
"มีเนื้อสบู่บริสุทธิ์ถึง ๙๙ ๔๔/๑๐๐ เปอร์เซ็นต์" 
ทั้งนี้เป็นความคิดที่ดัดแปลงมาจากรายงานว่า 
สบู่ไอวอรีมีสิ่งเจือปน อยู่ ๕๖/๑๐๐ ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ 
เมื่อกลับเอาลบมาเป็นบวก ผลที่ได้คือคอนเซ็ปต์โฆษณา
ในยุคต้นที่สุดจะคลาสสิก และยังช่วยให้นายพร็อกเตอร์
ตั้งตัวเป็นมหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเครื่องอุปโภคขนาดยักษ์ 
เรียกว่าร่ำรวยขึ้นมาจากฟองสบู่ก็เห็นจะไม่ผิดนัก
คนแรกที่คิดทำนี้ขึ้นต้องย้อนกลับไป เมื่อ 799 ปีที่แล้ว 
ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 6 แห่ง ราชอาณาจักร ฟรังโก้ ซึ่งสมัยนั้น 
เป็นครั้งแรกของโลกที่คิดค้นสบู่ขึ้นโดยสบู่ก้อนแรก 
คิดค้นโดย ชาวผรั่งเศส ชื่อ มาโก แวนโกะ ซึ่ง ในสมัยนั้น 
สบู่ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากทำมาจาก ไขมันของปลาโลมา 
ทำให้มีความคาว และเหม็น มาก
สบู่ก้อนแรกจะขุ่นเรียกว่าสบู่ก้อนขุ่น (Opaque Soap) 
เป็นประเภทที่เรารู้จักกันดี
เพราะใช้มานานก่อนกำเนิดของสบู่ชนิดอื่นๆสบู่จากธรรมชาติ
นอกจากก้อนไขมันแล้ว ยังมีวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นอีก
ที่คนสมัยก่อนนิยมเอามาใช้เป็นสบู่ โดยเฉพาะพืช 
และมีเรื่องประหลาดว่า ที่เกาะไซโมลัส ในทะเลอีเจียน 
มีก้อนบางอย่างหน้าตาเหมือนสบู่เกิดขึ้นเองทั่วไปทั้งเกาะ 
ซ้ำเมื่อเอามาถูตัวและซักผ้าก็สะอาดไม่แพ้กันด้วย 
โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักเจ้าก้อนนี้จะมีฟองออกมา
จนทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยฟองหนาหลายฟุตเลยทีเดียว
ซึ่งการค้นพบสบู่เนี่ยะถือว่าเป็นความบังเอิญมาก ๆ 
ในยุคสมัยที่เรายังนิยมการบูชายันต์อยู่นั้น มักจะมีแท่นบูชายันต์ 
ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ เมื่อนำแพะ หรือสัตว์อื่น ๆ มาบูชายัน 
ก็มีการเผาทำพิธีบริเวณนั้นด้วย และไขมันจากสัตว์เกิดไหลปนกับขี้เถ้า 
เกิดเป็นสิ่งที่เป็นก้อนขาว ๆๆ ไหลลงในลำธาร ชาวบ้านที่นำผ้ามาซักบริเวณนั้น 
ก็เกิดข้อสังเกตุว่า ผ้าที่ซักจากบริเวณนี้ สะอาดง่ายกว่า 
ซักบริเวณอื่น จึงได้หาเหตุ กันต่าง ๆ จนมาเจอก้อนที่ว่านี่เอง สบู่ไงครับ 
ที่เกิดจากความบังเอิญจาก ไขมัน รวม กับ ขี้เถ้า
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า ปฎิกิริยา Saponification 
หรือการเกิดสบู่ขึ้นนั่นเองเป็นผลที่มาจาก ESter(ไขมัน) 
และ base(ด่าง) รวมกัน ได้เป็นสบู่ขึ้นมา 
โดยที่สบู่จากการสร้างจาก Saponification 
จะมีส่วนที่เรียกว่า กลีเซอรีน ออกมาด้วย ดังนั้นสบู่จากปฎิกิริยานี้ 
จะช่วยบำรุงผิวได้ดี
อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของสบู่จะแปรตามคุณสมบัติของไขมันที่มาทำสบู่
เช่นถ้าสบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว จะมีเนื้อแข็ง ฟองมาก 
เหมาะไว้ล้างจานเป็นต้น สบู่น้ำมันละหุ่ง จะให้ครีมนุ่มอ่อนโยน 
เหมาะไว้ล้างหน้าเป็นต้น
มนุษย์เราจึงได้ผลิตสบู่แบบนี้ซึ่งผมจะเรียกว่า
การผลิตสบู่ด้วยวิธีธรรมชาติ 
โดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่างหรือ NaOH มาใช้กันเป็นเวลายาวนาน
ซึ่งถือว่าเป็นสบู่ที่ดี ไม่ค่อยมีความระคายเคือง และมีกลีเซอรีนผสมอยู่ 
และมีการปรับสูตรกันในแต่ละท้องถิ่น ในไทยเอง 
ก็มีการผลิตสบู่ลักษณะนี้อยู่เหมือนกันในอดีต
จวบจนครั้งเมื่ออุตสาหกรรมเคมี ได้พัฒนาขึ้น การผลิตสบู่แบบดั้งเดิม 
ซึ่งต้นทุนสูง ใช้เวลานานในการผลิต และ ผลิตได้ครั้งละจำกัด 
จึงเกิดสบู่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการชะล้าง 
มาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และ เติมสี และจัดจำหน่ายทั่วไป 
มีการเติมมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อทดแทนกลีเซอรีน ที่เคยได้ในการผลิตแบบดั้งเดิม 
สบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่เยี่ยมยอด และมีกลิ่นสี น่าใช้มาก 
เพราะแต่งเติมเข้าไปด้วยกรรมวิธีใหม่ 

คนกินสบู่

นางพยาบาลประจำคลินิกทำฟันในอังกฤษเป็นโรคพิลึก กินฟองน้ำล้างจาน 4,000 ชิ้น กับสบู่กว่า 100 ก้อนสาววัย 21 ชาวคอร์นวอลล์ผู้นี้ มักกินฟองน้ำหรือสบู่โดยราดด้วยซอสพริก ซอสมะเขือเทศ หรือมัสตาร์ด เพื่อเพิ่มรสชาติ บางครั้งก็จุ่มในน้ำชาหรือช็อกโกแลตร้อนเหมือนการกินบิสกิตโรคของเธอเรียกกันว่า พิกา (pica) ซึ่งยังมีอาการประหลาดอีกอย่างด้วยคือ เธอจะรู้สึกหิวเมื่ออาบน้ำ ทำงานบ้าน เช่น ล้างจานหรือถูบ้าน หรือเวลาเดินผ่านไปตามชั้นวางสินค้าจำพวกอุปกรณ์ทำความสะอาดในซูเปอร์มาร์เก็ตความผิดปกตินี้ทำให้คนไข้รู้สึกอยากกินสิ่งของที่ไม่ใช่อาหาร บางคนกินโลหะ ถ่าน ทราย หรือชอล์ก หรือแม้กระทั่งหลอดไฟหรือเฟอร์นิเจอร์สาวซึ่งเผยเพียงชื่อว่า แคร์รี ผู้นี้ เชื่อว่าเธอติดโรคนี้หลังจากได้ติดเชื้อพยาธิปากขอขณะไปเที่ยวที่ประเทศโมร็อกโกเมื่อปี 2551สบู่ที่เธอชอบกินเป็นสบู่มะนาวและมะกรูด "ฉันเลือกกินเฉพาะฟองน้ำกับสบู่บางชนิด และมีวิธีในการปรุงรส""เวลาออกไปนอกบ้าน ฉันจะตัดฟองน้ำเป็นชิ้นๆ เหยาะซอสมะเขือเทศกับซอสบาร์บีคิว เอาใส่ถุงพลาสติก บรรจุในกล่องทัปเปอร์แวร์ ฉันไม่เคยออกนอกบ้านโดยไม่มี 'ของว่าง' พวกนี้พกติดตัวไปด้วย"เธอเล่าถึงตอนที่ตัวเองกินฟองน้ำเป็นครั้งแรกว่า "หลังมื้อค่ำในวันหนึ่ง หลังจากกินลาซาญ (อาหารอิตาเลียน) กับไอศกรีม ฉันยังรู้สึกหิว ฉันเอาจานไปล้าง แกะฟองน้ำอันใหม่ออกจากซอง ฉันเกิดความรู้สึกอยากกินมันมาก""ฉันนั่งลง มีน้ำอยู่ข้างตัวแก้วหนึ่ง แล้วลงมือกินฟองน้ำชิ้นนั้นจนหมด มันไม่มีรสชาติอะไร แต่รู้สึกว่ากินแล้วสบายใจ หายหิว"ทุกวันนี้ แคร์รียังคงกินฟองน้ำขนาดหนึ่งตารางนิ้วกับสบู่หลวแบบออร์แกนิก 3 ช้อนชาในทุกมื้ออาหาร แต่เธอกำลังพยายามจะเลิกโดยความช่วยเหลือของแพทย์ และการเคี้ยวหมากฝรั่ง "รสชาติมันเหมือนสบู่ ทำให้ฉันได้ลิ้มรสที่ต้องการโดยไม่มีอันตราย ฉันแน่ใจว่าสักวันฉันจะต้องเลิกนิสัยนี้ได้" เธอว่า.

โทษและประโยชน์ของสบู่


ในครั้งต่อไปที่คุณเดินหาสบู่ หรือ ซื้อสบู่ที่คุณโปรดปรานอยากให้คุณลองอ่านฉลากของสบู่ที่คุณจะซื้อ  ว่าเป็นสบู่ที่มีการผลิตโดยสารเคมีหรือไม่ ส่วนมากการผลิตสบู่เพื่อการค้านี้มักจะมีการสกัดสารกลีเซอร์ลีนขึ้นมาเพื่อให้ความชุ่มชื่นแก่ผิว ซึ่งนั่นเป็นอันตรายอย่างมากกับผิวคุณและยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมด้วยเมื่อฟองของสบู่ที่คุณฟอกตัวได้ถูกล้างลงไปในท่อระบายน้ำ   โดยทั่วไปแล้วถ้าเป็นสบู่ที่ผลิตขึ้นตามธรรมชาติจะมีกลีเซอร์ลีนธรรมชาติอยู่ในตัวสบู่อยู่แล้ว  เพียงแต่มักจะไม่ค่อยเป็นที่นิยมนักเพราะมีราคาสูงกว่าสบู่ทั่วไปในท้องตลาด  แต่คุณควรเข้าใจว่าผิวของคนเรานั้นมันจะเป็นรูพรุนสามารถซึมซับสิ่งที่เราใช้กับผิว  ในสบู่ทั่วไปนอกจากกลีเซอร์ลีนที่ผลิตจากสารเคมีแล้วยังมีสารสังเคราะห์ช่วยให้มีสีสวยงามและน้ำหอมซึ่งทำให้สบู่มีกลิ่นหอม  สิ่งเหล่านี้เป็นสารเคมีอันตรายที่จะซึงซับเข้าไปสะสมอยู่ใต้ชั้นผิวหนังของเรา  และเมื่อเวลาผ่านไปนานวันเข้าก็จะทำลายต่อมน้ำมันใต้ผิวทำให้ผิวแห้ง  หรือสารเคมีสะสมนั้นอาจทำอันตรายต่อระบบโลหิตของเราได้  และแน่นอนว่าสารเคมีที่เป็นอันตรายเหล่านี้จะไม่มีการบ่งบอกไว้ในฉลากอย่างแน่นอน    แต่การใช้สบู่ที่ทำด้วยมือหรือสบู่ที่ทำจากธรรมชาตินั้นก็มีอยู่ 2แบบคือแบบร้อนและแบบเย็น  ซึ่งแน่นอนว่าการผลิตสบู่แบบเย็นนั้นย่อมดีที่สุด  เพราะสารสกัดจากธรรมชาติที่นำมาใช้ผ่านการสกัดเย็นจะคงไว้ซึ่งคุณภาพของสิ่งที่นำมาสกัดได้มากกว่า ฉะนั้นจึงคงสรรพคุณของตัวธรรมชาติชนิดนั้นๆเอาไว้เต็มที่     ในปัจจุบันนี้ที่ประเทศของเราก็มีการผลิตสบู่จากธรรมชาติออกมามากขึ้น  มีทั้งที่มีส่วนผสมของสมุนไพร ถั่ว และน้ำมันจากเมล็ดพืชต่างๆที่อุดมคุณค่าเป็นประโยชน์ต่อผิว  จากการวิจัยเราพบว่าการใช้สบู่แบบธรรมชาตินี้ไม่มีสารที่จะทำลายต่อมไขมันใต้ผิวหนังของเราและไม่มีสารตกค้างอันตรายใดๆที่จะสะสมอยู่ที่ผิวของเรา และสามารถใช้ได้กับทุกสภาพผิว    วันนี้มีคนมากมายทั่วโลกที่หันมาให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตจากธรรมชาติมากขึ้น  เพราะนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อเราแล้วมันยังไม่ทำร้ายโลกด้วย  ถ้าคุณสนใจจะใช้สบู่ที่ผลิตจากธรรมชาติคุณสามารถอ่านที่ฉลากของสบู่ว่าชนิดใดที่จะเหมาะกับความต้องการของคุณ  และมีส่วนผสมของอะไรบ้างเราคิดว่าคุณคงจะหันกลับมาให้ความสำคัญกับสิ่งที่จะเป็นประโยชน์กับตัวเองมากกว่าการถูกทำลายโดยสารเคมีแบบไม่รู้ตัวต่อไป 


บทความจาก Nature News

สบู่ สบู่


สูตรพื้นฐานและวิธีการผลิตสบู่ก้อน
วิธีคำนวณสูตรน้ำมัน   
น้ำมันมะพร้าว       120       กรัม      ใช้โซดาไฟ 20.304 (16.92 x 120/100) กรัม
น้ำมันปาล์ม           80       กรัม      ใช้โซดาไฟ 10.448 (13.06  x 80/100) กรัม
น้ำมันมะกอก        300       กรัม      ใช้โซดาไฟ 37.38 (12.46 x 300/100)
รวมไขมัน            500       กรัม 
รวมโซดาไฟ          68.132 กรัม 
น้ำที่ใช้  1            75-190 ซีซี

วิธีการและเทคนิคการผลิตสบู่ก้อน
1. เตรียมแม่พิมพ์สบู่
2. เตรียมเครื่องมือทั้งหมด
3.ผู้ผลิตใส่เสื้อกันเปื้อน สวมถุงมือ ผ้าปิดปากและจมูก และแว่นตา
4. ชั่งด่างอย่างระมัดระวัง
5.ชั่งน้ำที่ใช้ ค่อย ๆ เติมด่างลงในน้ำ อย่างช้า ๆ ระวังไม่ให้กระเด็น คนจนละลายหมด วัดอุณหภูมิประมาณ 40-45
    องศาเซลเซียส
6.ชั่งไขมันทั้งหมดผสมรวมกัน วางบนเครื่องอังไอน้ำ หรือลังถึงวัดอุณหภูมิ ประมาณ 40-45 องศาเซลเซียส ยกลง
7.เช็คอุณหภูมิน้ำด่างในข้อ 5 อีกครั้ง
8.เมื่ออุณหภูมิน้ำด่างและไขมันใกล้เคียงกัน ค่อยเทน้ำด่างลงในไขมัน คนเบา ๆ เมื่อเทน้ำด่างหมด ให้คนแรง ๆ ควรคน 15 นาที พัก 5 นาที จนกระทั่งเนื้อของเหลวเป็นสีขุ่นจนหมด เทลงพิมพ์
9.ทิ้งไว้ 1 สัปดาห์ แกะออกจากพิมพ์ ตัดเป็นก้อน
10.ตรวจสอบ ph บริเวณผิวสบู่ และเนื้อในผิวสบู่บริเวณต่ำกว่าผิวประมาณ 2 มิลลิเมตรถ้ามีค่า ph อยู่ระหว่าง 8-10 สามารถนำไปใช้ได้ หากมีค่าเกิน 10 เฉพาะที่บริเวณผิว ให้ตัดเฉพาะผิวนอกทิ้ง หากเนื้อในและผิวมีค่า ph เกิน 10 ทั้งสองบริเวณ แสดงว่าสบู่นั้นมีปริมาณด่างเหลือเกินกำหนด ไม่ควรนำไปใช้ เพราะอาจเกิดอันตรายทำให้ผิวเหี่ยว ซีด หรือคัน
11.ห่อกระดาษ หรือบรรจุภาชนะ


แหล่งอ้างอิง

วิธีอาบน้ำของมนุษย์ดึกดำบรรพ์

 มนุษย์ดึกดำบรรพ์มีวิธีอาบน้ำที่แปลกประหลาด  ในขั้น     
แรกเขาจะใช้ขี้เถ้าผสมน้ำทาจนทั่วตัว  แล้วจึงทาทับด้วยน้ำมันหรือไขมัน  แล้วจึงล้างตัวด้วยน้ำสะอาด ถึงแม้วิธีอาบน้ำของชาวโบราณจะดูพิลึกต่างกับยุคปัจจุบัน แต่ในความจริงแล้วองค์ประกอบทางเคมีของขี้เถ้าและสบู่และไขมันคล้ายกันมากกับองค์ประกอบของสบู่ในปัจจุบัน  ดังนั้นคนโบราณที่อาบน้ำแล้วจึงตัวสะอาดพอๆกับเราๆที่อาบน้ำแล้วนั่นเอง    
   จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าชนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์สบู่ขึ้นมาคือชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นบรรพบุรษของชาวบาบิโลเนีย  วิธีการทำสบู่ของเขาก็คือเอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือดแล้วเทขี้เถ้าและไขมันลงไป  คนสักครู่แล้วจึงเติมเกลือ  ไขมันจะจับเป็นก้อนแข็งลอยอยู่บนผิวหน้าซึ่งนั่นก็คือสบู่นั่นเอง    
    แต่สบู่ที่เตรียมโดยวิธีนี้จะนิ่มและแตกเป็นชิ้นเล็กๆได้ง่าย  ต่อมาจึงได้มีผู้ปรับปรุงกรรมวิธีเพื่อให้สบู่แข็งตัวและบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น  โดยนำไขที่ได้มาล้างสารละลายเกลือแล้วทิ้งสัก   
ระยะหนึ่งจะได้สบู่แข็งทีสามารถนำมาตัดเป็นก้อนสำหรับใช้ได้    
   สิ่งน่าทึ่งสำหรับสบู่คือคือบางครั้งสบู่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญในธรรมชาติ  พืชหลาย ชนิดมีสารเคมีลักษณะคล้ายสบู่  โดยใช้วักล้างได้และมีฟอง  ชาวพื้นเมืองอเมริกันและชาวเผ่าต่างอื่นๆเคยใช้พืชเหล่านี้สำหรบซัล้างและถูตัวมาแล้ว  ที่แปลกไปกว่านั้นคือที่เกาะไซโมลัส     
( Cimolus ) ในทะเลอีเจียน  ( Aegean  Sea )  ทั้งเกาะประกอบด้วยสารลัษณะคล้ายสบู่   
ไม่เพียงแต่สามารถนำมาใช้ซักผ้าและถูตัวได้เท่านั้น  เวลาฝนตกหนักทั่วเกาะจะถูกปกคลุมด้วยฟองสบู่หนาหลายฟุตทีเดียว    
   สบู่ธรรมชาติชนิดสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนั้นค่อนข้างที่จะน่าขยะแขยงและชวนขนลุก ขนพองเอาซักหน่อย  และไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้ถูตัวและทำความสะอาด  เพราะมันมาจากศพที่ฝังดินไว้ภายใต้สภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม  ศพจะกลายสภาพเป็นสารเคมีที่คล้ายกับโซดาปิ้งขนมปัง  ( โซเดียมไบคาร์บอเนต )  ผสมกับไขมันซึ่งคล้ายกับองค์ประกอบทางเคมีของสบู่  สัปเหร่อเรียกสารเคมีนี้ว่า ...  ขี้ผึ้งจากหลุมฝังศพ  ศพของนายวิลเลียม  วอน  เอลเลนโบเกน  นายทหารชาวอเมริกันผู้ถูฆ่าตายในสงความระหว่างอังกฤษกับอาณานิคมของอังกฤษใน  
สหรัฐอเมริกา  ( ค.ศ.  1775-1783 )  เมื่อฝังแล้วร่างกายของเขากลายเป็นสบู่ และมีผู้นำมาตั้งแสดงที่สถาบันสมิทโซเนียน  ( Smithsonian  Instituution )  อยู่นานหลายปี ... รับรองเลย  ว่าสบู่ประเภทนี้คงไม่มีใครกล้าใช้เป็นแน่ ...

วันอาทิตย์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2555

หมากฝรั่ง


ตำนานเกี่ยวกับหมากฝรั่ง คาดว่ามาจากชาวอินเดียนแดงที่ชอบเคี้ยวยางไม้บางชนิด และแพร่หลายกันมากในหมู่ชาวอินเดียนแดงด้วยกัน แต่จากหลักฐานต่อจากนั้นมีว่า ทหารผู้ที่ริเริ่มการเคี้ยวหมากฝรั่ง มีชื่อว่า นายพล อันโตนิโอ โลเปซ เอก ซานตาอันนา(Antonio López de Santa Anna)แห่งกองทัพเม็กซิโก และเป็นอดีตประธานาธิบดีของเม็กซิโก (ผู้ก่อสงครามกับรัฐเท็กซัส และก่อวีรกรรมชาวป้อมอลาโม) เขาเข้ามาอยู่ในอเมริกา และได้นำยางของต้นไม้ป่าในเม็กซิโกมาด้วย ยางชนิดนี้เป็นยางที่เรียกในภาษาแอซเทกว่า ชิเคิล นายพลซานตาอันนาชอบเคี้ยวยางไม้รสนี้มาก ต่อมา โทมัส อดัมส์นักถ่ายภาพและนักประดิษฐ์ได้ทราบเรื่องการเคี้ยวยางไม้นี้ จึงทดลองนำมาทำเป็นหมากฝรั่งเป็นครั้งแรก ต่อมา โทมัส ได้พยายามเปลี่ยนยางไม้ให้เป็นยางเทียม แต่ก็ล้มเหลว เมื่อเขาหวนคิดว่าหลานของเขาและนายพลชอบเคี้ยวยางไม้ เขาจึงคิดที่จะทำการเปิดตลาดด้านนี้ และประสบความสำเร็จในเวลาต่อมา
หมากฝรั่งที่มีขายในปัจจุบันไม่ได้ทำมาจากยางไม้เหมือนในสมัยก่อน หากแต่เป็นยางสังเคราะห์ที่มีความนุ่มและเหนียว โดยปกติแล้ว มันจะไม่มีรส ไม่มีสี และไม่มีกลิ่น และชื่อก็ไม่ชวนให้กิน แต่คนอเมริกันยังนิยมเคี้ยวหมากฝรั่งที่ทำจากยางสังเคราะห์ถึงปีละ 10 ล้านปอนด์ ซึ่งก็นับว่าเป็นจำนวนมากทีเดียวหมากฝรั่งในยุคแรกๆของโทมัสเป็นเม็ดกลมๆเล็กๆ ไม่มีรสชาติ มีวางขายในร้านขายยาในเมืองโฮโบเค็น ปี ค.ศ. 1871 โดยขายเม็ดละ 1 เพนนี ต่อมาจึงเริ่มมีการดัดแปลงรูปแบบเป็นแผ่นสี่เหลี่ยม แบนๆ บุคคลที่คิดค้นรสชาติของหมากฝรั่งเป็นเภสัชกรชื่อ จอห์น คอลแกน ในปี ค.ศ. 1875 รสชาติที่เขาเติ่มไปคือ ตัวยาทางการแพทย์ เป็นขี้ผึ้งหอมทูโล ทำจากยางไม้ต้นทูโลในอเมริกาใต้ รสชาติคล้ายกับยาแก้ไอน้ำเชื่อมของเด็กยุคร้อยกว่าปีก่อน เขาเรียกหมากฝรั่งนั้นว่า แทฟฟี่-ทูโล หมากฝรั่งชนิดนี้ประสบความสำเร็จมากกว่า หมากฝรั่งชนิดอื่นที่มีขายในยุคนั้น ต่อมา โทมัส ใช้รสชะเอมเติมในหมากฝรั่ง เรียกชื่อหมากฝรั่งนั้นว่า แบลคแจค ซึ่งเป็นหมากฝรั่งที่มีรสเก่าแก่ที่สุด ที่ยังมีขายในท้องตลาดของอเมริกา ส่วนรสอื่นๆ อาทิเช่น เปปเปอร์มินต์ เป็นรสยอดนิยมในช่วงปี ค.ศ. 1880





หนังสือ ๑๐๘ ซองคำถาม เล่ม ๒ โดยสำนักพิมพ์สารคดี

วันศุกร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีขจัดสิวเสี้ยน

วิธีขจัดสิวเสี้ยนเพียง 3 ขั้นตอนเท่านั้น!!! 

1. เปิดรูขุมขน 

ใช้ ไอน้ำ ช่วยเปิดรูขุมขน โดย

เทน้ำร้อนใส่อ่างล้างหน้า แล้วอังหน้ากับไอน้ำ ประมาณ 2 นาที (ถ้าใช้ผ้าขนหนูมัดศรีษะไว้เหมือนกระโจม จะยิ่งมีปรสิทธิภาพมากขึ้น)

 จะใช้ผ้าขนหนูอุ่นๆ คลุมหน้าแทนก็ได้นะ โดยนำผ้ามาชุบน้ำร้อนแล้วบิดให้หมาดๆ หรืออบในไมโครเวฟประมาณ 1-2 นาที (แต่อย่าให้ร้อนเดินไป  เพราะต้องสัมผัสกับใบหน้าโดยตรง)

2.ถูกบังคับให้ออกมา
ผสมคลีนซิ่งออยส์กับเกลือขัดผิวแล้วนวดเบาๆ ก้อนไขมันจะอ่อนนุ่มขึ้น
แต่ผิวมัน ผิวแพ้ง่าย และเป็นสิวต้องระวัง เพระอาจจะก่อให้เกิดการระคายเคืองได้ 

(การล้างหน้าอย่างถูกวิธีและขจัดเซล์ผิวเสื่อมสภาพ จะช่วยทำให้สิวหลุดออกมาได้ !!
ถ้าอยากขจัดสิวเสี้ยนให้หมดทั้งหน้า ต้องใช้วิธีพอกหน้า )


 ก า ร พ อ ก โ ค ล  น 
ทาโคลนให้ทั่วใบหน้าโดยเว้น บริเวณดวงตาและปาก ทิ้งไว้ 10-15 นาที แล้วล้างออกด้วยน้ำอุ่น
ช่วยให้รูขุมขนลึกลงและดูดซับน้ำมัน

 ก า ร พ อ ก  น้ำ ต า ล ท ร า ย
ผสมน้ำตาลทรายกับโยเกิร์ตให้เข้มข้นแล้วทาทิ้งไว้บริเวณจมูกหรือที่โซน

***ไม่แนะนำให้ลอกสิวเสี้ยน
เพราะอาจเกิดการระคายเคืองขณะลอกออก แต่หากจำเป็นควรทำหลังตากพอกหน้าแล้ว

3.รูขุมขนเล็กลง

ล้างหน้าด้วยน้ำเย็นหลายๆ ครั้งเพื่อปิดรุขุมขน
จากนั้นเช็ดหน้าด้วยโทนเนอร์ หรือใช้สำลีแผ่นชุบโทนเนอร์แล้วแปะไว้บริเวณทีโซนจะยิ่งเห็นผลมากขึ้น
ถ้าล้างหน้าให้สะอาดทุกวัน สิวเสี้ยนก็จะไม่กลับมาอีก ควรป้องกันแต่เนิ่นๆ มิใช่กำจัดภายหลัง
   (ทีโซน คือ บริเวณหน้าผากและจมูก)

+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++

******ข้อควรระวังเวลากำจัดสิวเสี้ยน*******

1. ขั้นตอนก่อนและหลังการกำจัดสิวเสี้ยนนั้นสำคัญมาก ห้ามใจร้อนหรือบีบสิวเด็ดขาด 

2.อย่าหวังว่าจะกำจัดสิวเสี้ยนได้เด็ดขาดในครั้งเดียว วิธีที่ดีที่สุดคือ หมั่นขจัดน้ำมันส่วนเกิดและเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพอยู่เสมอเพื่อไม่ให้เกิดสิวเสี้ยน 

วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

บทที่5 อินเทอร์เน็ต

                                                                             บทที่ 5
                                                                       อินเทอร์เน็ต


5.2 เวิลด์ไวเว็บ
    เวิลด์ไวเว็บ (World Wide Web) หรือเรียกสั้นๆว่า เว็บ เป็นการให้บริการข้อมูลแบบไฮเปอร์เท็กซ์ (hypertext) ที่ประกอบไปด้วยเอกสารจำนวนมากที่มีการเชื่อมโยงกัน ซึ่งเป็นแหล่งของข้อมูลขนาดใหญ่ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงผ่านโพรโทคอลที่เรียกว่า เอชทีทีพี(Hypertext Transfer protocol:HTTP)

      *เว็บเพจ (Web page) เป็นหน้าเอกสารที่เขียนขึ้นในรูปแบบภาษาเอชทีเอ็มแอล ซึ่งสามารถเชื่อมโยงไปเอกสารหน้าอื่นได้
      *เว็บไซต์ (Web site) เป็นกลุ่มของเว็บเพจที่มีความเกี่ยวข้องกัน และอยู่ภายใต้ชื่อโดเมนเดียวกัน
      *เว็บเซิร์ฟเวอร์ (Web server) เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ให้บริการเว็บเพจ เมื่อผู้ใช้ร้องขอเว็บเพจผ่านเว็บเบราเซอร์ โดยใช้ยูอาร์แอลระบุตำแหน่งของเว็บเพจ
     5.2.1 การเรียกดูเว็บ เว็บเบราว์เซอร์ (Web browser) เป็นโปรแกรมใช้สำหรับแสดงเว็บเพจ และสามารถเชื่อมโยงไปยังส่วนอื่นในเว็บเพจเดียวกันหรือเว็บเพจอื่นผ่านการเชื่อมโยงหลายมิติ หรือไฮเปอร์ลิงค์ เรียกสั้นๆว่า ลิงค์ เว็บเบราว์เซอร์ช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการใช้งานอินเทอร์เน็ต
    5.2.2 ที่อยู่เว็บ ในการอ้างอิงตำแหน่งของแหล่งข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตที่ผู้ใช้ร้องขอ เช่น เว็บเพจ สามารถทำได้โดยการระบุยูอาร์แอล ซึ่งมีรูปแบบดังนี้
      *โพรโทคอล ใช้สำหรับระบุมาตรฐานที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านเว็บ เช่น เอชทีทีพีและเอฟทีพี ในกรณีของเอชทีทีพี ส่วนใหญ่แล้วผู้ใช้สามารถจะละส่วนของโพรโทคอลนี้ได้
      *ชื่อโดเมน ใช้สำหรับระบุชื่อโดเมนของเว็บเซิร์ฟเวอร์ของผู้ให้บริการข้อมูล เช่น ชื่อโดเมน www.ipst.ac.th
      *เส้นทางเข้าถึงไฟล์ (path) ใช้สำหรับระบุตำแหน่งของไฟล์จากเว็บเซิร์ฟเวอร์
      *ชื่อข้อมูล ชื่อไฟล์ที่ร้องขอ เช่น ไฟล์ไฮเปอร์เท็กซ์ ไฟล์รูปแบบ ไฟล์วีดิทัศน์ ไฟล์เสียง
    ในกรณีที่ยูอาร์แอลระบุเฉพาะชื่อโดเมนโดยไม่ระบุเส้นทางเข้าถึงไฟล์ และ/หรือชื่อไฟล์มีความหมายว่าให้เข้าถึงหน้าหลัก หรือโฮมเพจ (home page) ของเซิร์ฟเวอร์นั้น
5.2.3 การค้นหาผ่านเว็บ

                                                                          
      *โปรแกรมค้นหา หรือเสิร์ชเอนจิน (search engines) ใช้สำหรับคนหาเว็บเพจที่ต้องการโดยระบุคำหลักหรือคำสำคัญ เพื่อนำไปค้นในฐานข้อมูลขนาดใหญ่ ซึ่งรวบรวมเว็บเพจต่างๆ ผลลัพธ์ที่ได้จะเป็นรายการเว็บเพจที่ประกอบด้วยคำหลักที่ระบุ ช่วยให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลทุกประเภทได้อย่างรวดเร็ว
      *ตัวดำเนินการในการค้นหา เพื่อให้การค้นหาข้อมูลด้วยโปรแกรมค้นหาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ผู้ใช้สามารถใช้ตัวดำเนินการในการค้นหาประกอบกับคำหลัก จะช่วยให้ได้ผลลัพธ์ในการค้นหาที่ดียิ่งขึ้น
    5.2.4 เว็บ 1.0 และเว็บ 2.0
      เว็บ 1.0 (Web 1.0) เป็นเว็บในยุคแรกเริ่มที่มีลักษณะให้ข้อมูลแบบทางเดียว ผู้ใช้ทั่วไปเข้าถึงเว็บเพจในฐานะผู้บริโภคข้อมูลและสารสนเทศตามที่ผู้สร้างได้ให้รายละเอียดไว้เพียงอย่างเดียว ไม่ค่อยมีการปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและมีรูปแบบการใช้งานไม่หลากหลาย เช่น ความรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีในการพัฒนาเว็บ
    ต่อมามีการพัฒนาเทคโนโลยีที่สนับสนุนการใช้งานบนอินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้ใช้ทั่วไปสามารถเป็นส่วนหนึ่งของผู้ให้ข้อมูลในรูปแบบต่างๆที่ปรากฏบนเว็บเพจ จึงได้มีการเรียกเว็บประเภทนี้ว่าเว็บ 2.0 (Web2.0)