วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

วิธีอาบน้ำของมนุษย์ดึกดำบรรพ์

 มนุษย์ดึกดำบรรพ์มีวิธีอาบน้ำที่แปลกประหลาด  ในขั้น     
แรกเขาจะใช้ขี้เถ้าผสมน้ำทาจนทั่วตัว  แล้วจึงทาทับด้วยน้ำมันหรือไขมัน  แล้วจึงล้างตัวด้วยน้ำสะอาด ถึงแม้วิธีอาบน้ำของชาวโบราณจะดูพิลึกต่างกับยุคปัจจุบัน แต่ในความจริงแล้วองค์ประกอบทางเคมีของขี้เถ้าและสบู่และไขมันคล้ายกันมากกับองค์ประกอบของสบู่ในปัจจุบัน  ดังนั้นคนโบราณที่อาบน้ำแล้วจึงตัวสะอาดพอๆกับเราๆที่อาบน้ำแล้วนั่นเอง    
   จากข้อมูลทางประวัติศาสตร์บ่งชี้ว่าชนกลุ่มแรกที่ประดิษฐ์สบู่ขึ้นมาคือชาวสุเมเรียนซึ่งเป็นบรรพบุรษของชาวบาบิโลเนีย  วิธีการทำสบู่ของเขาก็คือเอาน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือดแล้วเทขี้เถ้าและไขมันลงไป  คนสักครู่แล้วจึงเติมเกลือ  ไขมันจะจับเป็นก้อนแข็งลอยอยู่บนผิวหน้าซึ่งนั่นก็คือสบู่นั่นเอง    
    แต่สบู่ที่เตรียมโดยวิธีนี้จะนิ่มและแตกเป็นชิ้นเล็กๆได้ง่าย  ต่อมาจึงได้มีผู้ปรับปรุงกรรมวิธีเพื่อให้สบู่แข็งตัวและบริสุทธิ์มากยิ่งขึ้น  โดยนำไขที่ได้มาล้างสารละลายเกลือแล้วทิ้งสัก   
ระยะหนึ่งจะได้สบู่แข็งทีสามารถนำมาตัดเป็นก้อนสำหรับใช้ได้    
   สิ่งน่าทึ่งสำหรับสบู่คือคือบางครั้งสบู่อาจเกิดขึ้นโดยบังเอิญในธรรมชาติ  พืชหลาย ชนิดมีสารเคมีลักษณะคล้ายสบู่  โดยใช้วักล้างได้และมีฟอง  ชาวพื้นเมืองอเมริกันและชาวเผ่าต่างอื่นๆเคยใช้พืชเหล่านี้สำหรบซัล้างและถูตัวมาแล้ว  ที่แปลกไปกว่านั้นคือที่เกาะไซโมลัส     
( Cimolus ) ในทะเลอีเจียน  ( Aegean  Sea )  ทั้งเกาะประกอบด้วยสารลัษณะคล้ายสบู่   
ไม่เพียงแต่สามารถนำมาใช้ซักผ้าและถูตัวได้เท่านั้น  เวลาฝนตกหนักทั่วเกาะจะถูกปกคลุมด้วยฟองสบู่หนาหลายฟุตทีเดียว    
   สบู่ธรรมชาติชนิดสุดท้ายที่จะกล่าวถึงนั้นค่อนข้างที่จะน่าขยะแขยงและชวนขนลุก ขนพองเอาซักหน่อย  และไม่เหมาะอย่างยิ่งสำหรับนำมาใช้ถูตัวและทำความสะอาด  เพราะมันมาจากศพที่ฝังดินไว้ภายใต้สภาวะความชื้นและอุณหภูมิที่เหมาะสม  ศพจะกลายสภาพเป็นสารเคมีที่คล้ายกับโซดาปิ้งขนมปัง  ( โซเดียมไบคาร์บอเนต )  ผสมกับไขมันซึ่งคล้ายกับองค์ประกอบทางเคมีของสบู่  สัปเหร่อเรียกสารเคมีนี้ว่า ...  ขี้ผึ้งจากหลุมฝังศพ  ศพของนายวิลเลียม  วอน  เอลเลนโบเกน  นายทหารชาวอเมริกันผู้ถูฆ่าตายในสงความระหว่างอังกฤษกับอาณานิคมของอังกฤษใน  
สหรัฐอเมริกา  ( ค.ศ.  1775-1783 )  เมื่อฝังแล้วร่างกายของเขากลายเป็นสบู่ และมีผู้นำมาตั้งแสดงที่สถาบันสมิทโซเนียน  ( Smithsonian  Instituution )  อยู่นานหลายปี ... รับรองเลย  ว่าสบู่ประเภทนี้คงไม่มีใครกล้าใช้เป็นแน่ ...

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น