วันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กำเนิดสบู่

สบู่ก้อนแรกถือกำเนิดขึ้นเมื่อ ๖ ศตวรรษก่อนคริสตกาล
หรือประมาณ ๒,๕๐๐ ปีมาแล้ว 
กล่าวกันว่าพวกฟีนีเชียนได้ต้มน้ำกับไขมันแพะและขี้เถ้าเข้าด้วยกัน 
แม้ฟังดูจะไม่ค่อยสะอาดนัก แต่สารโพแทสเซียมคาร์บอเนต
ในขี้เถ้านั้นช่วยให้สบู่ดึกดำบรรพ์ซึ่งมีผิวมันปลาบก้อนนี้มีคุณสมบัติใช้ทำความสะอาดได้
อย่างไรก็ตาม การผลิตและการใช้สบู่ก็ยังดำเนินไปอย่างลุ่ม ๆ ดอน ๆ 
จนในสมัยหลังมีข้อยืนยันทางการแพทย์ว่า แบคทีเรียเป็นตัวการของโรคภัย 
เมื่อนั้นฝรั่งจึงยอมหันมาอาบน้ำและถูสบู่กันถ้วนหน้า 
แต่ตัวสบู่เองก็ไม่ได้มีการพัฒนาไปจากก้อนแรกเท่าไรเลย
Harley Procter (1846-1923)James Gamble
ในปี ค.ศ. ๑๘๗๙ นายฮาร์เลย์ พร็อกเตอร์ เจ้าของโรงงานสบู่ 
และนายเจมส์ แกมเบิล ญาติซึ่งเป็นนักเคมี 
พบว่าสบู่กุรุสที่ถูกทิ้งให้ตีผสมอยู่ในเครื่องนานเกินไป
เพราะคนงานลืมปิดเครื่องมีคุณสมบัติพิเศษที่แตกต่าง 
คือมีน้ำหนักเบาจนสามารถลอยน้ำได้เพราะฟองอากาศในเนื้อสบู่ 
ปรากฏว่าสบู่ลอยน้ำได้ของนายพร็อกเตอร์ขายดีเป็นเทน้ำเทท่าเลยทีเดียว
นายพร็อกเตอร์ตั้งชื่อสบู่แหวกแนวของตนว่า ไอวอรี 
สบู่ยี่ห้อนี้มีรอยปรุตรงกลางก้อน หักแบ่งครึ่งได้ 
นายพร็อกเตอร์ตั้งสโลแกนสบู่ของตนว่า 
"มีเนื้อสบู่บริสุทธิ์ถึง ๙๙ ๔๔/๑๐๐ เปอร์เซ็นต์" 
ทั้งนี้เป็นความคิดที่ดัดแปลงมาจากรายงานว่า 
สบู่ไอวอรีมีสิ่งเจือปน อยู่ ๕๖/๑๐๐ ของหนึ่งเปอร์เซ็นต์ 
เมื่อกลับเอาลบมาเป็นบวก ผลที่ได้คือคอนเซ็ปต์โฆษณา
ในยุคต้นที่สุดจะคลาสสิก และยังช่วยให้นายพร็อกเตอร์
ตั้งตัวเป็นมหาเศรษฐีเจ้าของบริษัทเครื่องอุปโภคขนาดยักษ์ 
เรียกว่าร่ำรวยขึ้นมาจากฟองสบู่ก็เห็นจะไม่ผิดนัก
คนแรกที่คิดทำนี้ขึ้นต้องย้อนกลับไป เมื่อ 799 ปีที่แล้ว 
ในสมัยพระเจ้าหลุยส์ ที่ 6 แห่ง ราชอาณาจักร ฟรังโก้ ซึ่งสมัยนั้น 
เป็นครั้งแรกของโลกที่คิดค้นสบู่ขึ้นโดยสบู่ก้อนแรก 
คิดค้นโดย ชาวผรั่งเศส ชื่อ มาโก แวนโกะ ซึ่ง ในสมัยนั้น 
สบู่ยังไม่เป็นที่นิยม เนื่องจากทำมาจาก ไขมันของปลาโลมา 
ทำให้มีความคาว และเหม็น มาก
สบู่ก้อนแรกจะขุ่นเรียกว่าสบู่ก้อนขุ่น (Opaque Soap) 
เป็นประเภทที่เรารู้จักกันดี
เพราะใช้มานานก่อนกำเนิดของสบู่ชนิดอื่นๆสบู่จากธรรมชาติ
นอกจากก้อนไขมันแล้ว ยังมีวัสดุธรรมชาติอย่างอื่นอีก
ที่คนสมัยก่อนนิยมเอามาใช้เป็นสบู่ โดยเฉพาะพืช 
และมีเรื่องประหลาดว่า ที่เกาะไซโมลัส ในทะเลอีเจียน 
มีก้อนบางอย่างหน้าตาเหมือนสบู่เกิดขึ้นเองทั่วไปทั้งเกาะ 
ซ้ำเมื่อเอามาถูตัวและซักผ้าก็สะอาดไม่แพ้กันด้วย 
โดยเฉพาะเวลาฝนตกหนักเจ้าก้อนนี้จะมีฟองออกมา
จนทั้งเกาะปกคลุมไปด้วยฟองหนาหลายฟุตเลยทีเดียว
ซึ่งการค้นพบสบู่เนี่ยะถือว่าเป็นความบังเอิญมาก ๆ 
ในยุคสมัยที่เรายังนิยมการบูชายันต์อยู่นั้น มักจะมีแท่นบูชายันต์ 
ซึ่งอยู่ใกล้แม่น้ำ เมื่อนำแพะ หรือสัตว์อื่น ๆ มาบูชายัน 
ก็มีการเผาทำพิธีบริเวณนั้นด้วย และไขมันจากสัตว์เกิดไหลปนกับขี้เถ้า 
เกิดเป็นสิ่งที่เป็นก้อนขาว ๆๆ ไหลลงในลำธาร ชาวบ้านที่นำผ้ามาซักบริเวณนั้น 
ก็เกิดข้อสังเกตุว่า ผ้าที่ซักจากบริเวณนี้ สะอาดง่ายกว่า 
ซักบริเวณอื่น จึงได้หาเหตุ กันต่าง ๆ จนมาเจอก้อนที่ว่านี่เอง สบู่ไงครับ 
ที่เกิดจากความบังเอิญจาก ไขมัน รวม กับ ขี้เถ้า
สิ่งที่เกิดขึ้นนี้ เรียกว่า ปฎิกิริยา Saponification 
หรือการเกิดสบู่ขึ้นนั่นเองเป็นผลที่มาจาก ESter(ไขมัน) 
และ base(ด่าง) รวมกัน ได้เป็นสบู่ขึ้นมา 
โดยที่สบู่จากการสร้างจาก Saponification 
จะมีส่วนที่เรียกว่า กลีเซอรีน ออกมาด้วย ดังนั้นสบู่จากปฎิกิริยานี้ 
จะช่วยบำรุงผิวได้ดี
อย่างไรก็ตามคุณสมบัติของสบู่จะแปรตามคุณสมบัติของไขมันที่มาทำสบู่
เช่นถ้าสบู่ที่ทำจากน้ำมันมะพร้าว จะมีเนื้อแข็ง ฟองมาก 
เหมาะไว้ล้างจานเป็นต้น สบู่น้ำมันละหุ่ง จะให้ครีมนุ่มอ่อนโยน 
เหมาะไว้ล้างหน้าเป็นต้น
มนุษย์เราจึงได้ผลิตสบู่แบบนี้ซึ่งผมจะเรียกว่า
การผลิตสบู่ด้วยวิธีธรรมชาติ 
โดยใช้ไขมันจากพืชหรือสัตว์ผสมกับด่างหรือ NaOH มาใช้กันเป็นเวลายาวนาน
ซึ่งถือว่าเป็นสบู่ที่ดี ไม่ค่อยมีความระคายเคือง และมีกลีเซอรีนผสมอยู่ 
และมีการปรับสูตรกันในแต่ละท้องถิ่น ในไทยเอง 
ก็มีการผลิตสบู่ลักษณะนี้อยู่เหมือนกันในอดีต
จวบจนครั้งเมื่ออุตสาหกรรมเคมี ได้พัฒนาขึ้น การผลิตสบู่แบบดั้งเดิม 
ซึ่งต้นทุนสูง ใช้เวลานานในการผลิต และ ผลิตได้ครั้งละจำกัด 
จึงเกิดสบู่อีกประเภทหนึ่ง ซึ่งผลิตโดยใช้สารเคมีที่มีคุณสมบัติในการชะล้าง 
มาอัดเป็นก้อนและผสมกลิ่นน้ำหอม และ เติมสี และจัดจำหน่ายทั่วไป 
มีการเติมมอยเจอร์ไรเซอร์ เพื่อทดแทนกลีเซอรีน ที่เคยได้ในการผลิตแบบดั้งเดิม 
สบู่ประเภทนี้ให้การชะล้างที่เยี่ยมยอด และมีกลิ่นสี น่าใช้มาก 
เพราะแต่งเติมเข้าไปด้วยกรรมวิธีใหม่ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น